การชุบฮาร์ดโครม

เมื่อชิ้นส่วนเครื่องจักรเริ่มมีการสึกกร่อนหรือเกิดรอยแตกขึ้น ผู้เป็นเจ้าของจำนวนไม่น้อย ที่ตัดสินใจปลดมันออกจากหน้าที่และหาซื้อชิ้นส่วนตัวใหม่มาแทน ซึ่งทุกคนต่างก็ทราบดีว่าการหยุดเครื่อง เพื่อรออะไหล่ตัวใหม่มาเปลี่ยนนั้น ทำให้เกิดการสูญเสียทางการผลิต ซึ่งแน่นอนว่าต้องกระทบถึงผลกำไรที่จะตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อเป็นการประหยัดทั้งเงินและเวลา “การชุบฮาร์ดโครม” จึงเป็นทางออกที่ไม่ควรมองข้าม เพราะนอกจากจะช่วยลดเงินและเวลาที่ต้องหมดไปกับการรอชิ้นส่วนใหม่แล้ว ประสิทธิภาพการทำงานของชิ้นส่วนที่ผ่านการชุบฮาร์ดโครมยังดีเยี่ยมไม่แตกต่างจากของใหม่อีกด้วย

การชุบฮาร์ดโครม เป็นวิธีการเคลือบเชิงไฟฟ้า (Electrolytic Deposition) โดยใช้โครเมียม ซึ่งเป็นวิธีการที่เหมาะกับงานเชิงวิศวกรรม วัตถุที่นิยมนำมาชุบส่วนใหญ่จะเป็นเหล็กกล้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหล็กกล้าชุบแข็ง การชุบฮาร์ดโครมสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ การชุบอย่างบางและการชุบหนา “การชุบอย่างบาง” เป็นการชุบเพื่อยืดอายุการใช้งานของชิ้นส่วนเครื่องจักรกล ที่มักใช้ในงานที่มีอัตราความเสี่ยงต่อการสึกกร่อนสูง หรืองานที่อยู่ในสภาพที่มีการกัดกร่อนทางเคมี สำหรับ “การชุบหนา” เป็นการชุบเพื่อซ่อมแซมชิ้นส่วนอะไหล่ที่ชำรุดเสียหาย ให้กลับมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพดังเดิม ตัวอย่างชิ้นส่วนที่นำมาชุบฮาร์ดโครม เช่น กระบอกสูบไฮดรอลิก (Hydraulic cylinder) ด้ามลูกสูบ (Pump shafts) ใบพัด (Rotors) ลูกโม่ (Rollers) วงแหวนลูกสูบ (Piston ring) ผิวด้านนอกเบ้าหล่อ (Mold surfaces) แม่พิมพ์ตอกโลหะ (Dies) ตะปูควง (Screws) เข็มร้อยด้าย (Thread guides) และลำกล้องปืน (Gun bores) เป็นต้น

คุณสมบัติ:

  • ค่าความแข็งสูง (High Hardness)
  • ต้านทานการสึกกร่อนได้ดี (Good Wear Resistance)
  • ต้านทานการกัดกร่อนจากสารเคมีได้ดี (Good Corrosion Resistance)
  • สัมประสิทธิ์การเสียดทานต่ำ (Low Coefficient of Friction)
  • ใช้อุณหภูมิในการซ่อมแซมต่ำ (Low Temperature Treatment )

คุณสมบัติทางกายภาพ:

  • ค่าความหนาแน่น: 7.1 kg/dm3
  • เลขอะตอม: 24
  • ลักษณะการจับตัวของผลึก: Body Centre Cubic
  • ค่าความแข็ง: 850-1050 HV or 65-70 Rockwell C
  • จุดหลอมเหลว: 1890oC
  • สัมประสิทธิ์ความเสียดทาน: 6 x 10
  • สัมประสิทธิ์ความต้านทาน: 13 Micro hms/cm
  • การนำความร้อน: 0.67 W/cm oK
  • ความต้านทานไฟฟ้า: 13-66 Micro hm/cm

การใช้งาน:

จากคุณสมบัติต่างๆ ข้างต้น ทำให้การชุบฮาร์ดโครมถูกนำไปใช้เพื่อแก้ปัญหาในหลากหลายุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมการผลิตนม อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมกระดาษ อุตสาหกรรมพลาสติก อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ และอุตสาหกรรมด้านเวชภัณฑ์ เป็นต้น